Blogs
Blogs
บทความเกี่ยวกับการใช้งานผลิตภัณฑ์
- หัวข้อ
- วิธีการเชื่อมพลาสติกด้วยเครื่อง Hand tool รุ่น RiOn
- ผู้เขียน
- ผู้ดูแลระบบ
- วันที่สร้าง
- 27/01/2025
- สิ่งที่แนบมา0
- ดู
- 63
คุณรู้ไหมว่าทำไมพลาสติกถึงมักจะถูกเลือกใช้แทนเหล็ก?
แม้ว่าเหล็กจะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงมาก แต่ในบางสถานการณ์วัสดุประเภทพลาสติกมักถูกเลือกใช้มากกว่า เนื่องจากมีความแข็งแรงทางโครงสร้างเหมือนกับเหล็กแต่ยืดหยุ่นได้มากกว่า
พลาสติกสามารถดูดซับแรงกระแทกเล็กน้อยได้ ในขณะที่เหล็กจะบิดเบี้ยวจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ ดังนั้นหากชิ้นงานพลาสติกเสียหาย ก็ยังมีโอกาสที่จะซ่อมแซมได้ด้วยการเชื่อมโดยไม่สูญเสียความแข็งแรงของชิ้นส่วน
หากคุณต้องการซ่อมแซมพลาสติก คุณจะต้องมีเครื่องมือเป่าลมร้อนที่เหมาะสม และเราขอแนะนำ RiOn
เครื่องเชื่อมพลาสติกคุณภาพสูงส่งตรงจากสวิตเซอร์แลนด์
วิธีการเชื่อมด้วย BAK hot air welding tool รุ่น RiOn
STEP 1 : ปลอดภัยไว้ก่อน
สารไอระเหยจากพลาสติกบางชนิดที่อาจทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนังได้ สารเคมีบางชนิดยังสามารถทำให้เกิดอาการมึนงงในบางบุคคล หรือปัญหาทางสุขภาพระยะยาวได้หากสัมผัสในระยะยาว เพื่อป้องกันอันตรายจากไอเหล่านี้ ควรทำงานในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี เช่น การใช้ระบบระบายอากาศที่มีพัดลมหรือทำงานกลางแจ้ง รวมถึงการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นและอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ เช่น แว่นตาหรือหน้ากากเต็มใบ เสื้อแขนยาวเพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารเคมีที่อาจปล่อยออกมา
STEP 2: เตรียมชิ้นงาน
2.1 ทำความสะอาดผิวหน้าของชิ้นงานพลาสติกด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ เพื่อล้างเศษสิ่งสกปรกและคราบมันที่สะสมบนพลาสติกมาเป็นเวลานาน เนื่องจากสิ่งสกปรกเหล่านี้เป็นสิ่งกีดขวางการหลอมรวมระหว่างชิ้นงานหรืออาจทำให้เกิดฟองอากาศระหว่างการเชื่อม ซึ่งจะลดความแข็งแรงของจุดเชื่อมจากนั้นเช็ดพลาสติกให้แห้งด้วยผ้าสะอาดที่ไม่มีขนติดอยู่
*หลีกเลี่ยงการใช้ผงซักฟอกที่มีความเข้มข้นสูง เพราะมักจะทิ้งคราบฟิล์มที่มีผลต่อการเชื่อมพลาสติก
2.2 หากชิ้นงานมีสีเคลือบอยู่ คุณสามารถเตรียมผิวชิ้นงานโดยใช้กระดาษทรายหยาบเบอร์ 80 หรืออุปกรณ์ขูดลอกสี ขัดออกจนกระทั่งเห็นพลาสติกที่อยู่ใต้สี แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ขูดหรือทำรอยบนพลาสติกที่อยู่ใต้สี
การทำความสะอาดพื้นผิวให้หมดจดเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้การเชื่อมมีประสิทธิภาพและมั่นคง!
STEP 3 การระบุชนิดของพลาสติก
ชิ้นงานพลาสติกจะเชื่อมติดกันได้ด้วยพลาสติกชนิดเดียวกันเท่านั้น จึงต้องเลือกลวดเชื่อมให้ตรงกับวัสดุ เช่น ลวดโพลีเอทิลีน (PE) สำหรับพลาสติกโพลีเอทิลีน หรือโพลีโพรพิลีน (PP) สำหรับพลาสติกโพลีโพรพิลีน
โดยสามารถตรวจสอบจาก Material Identification Codes บนผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น PE, PP, PVC,ABS เป็นต้น เพื่อเลือกลวดเชื่อมที่เหมาะสม หากเป็นคนละชนิดกันจะไม่เกิดการประสานกัน
STEP 4 ยึดชิ้นงานด้วยแคลมป์ C
จัดตำแหน่งชิ้นพลาสติกให้เรียบร้อย โดยวางบนโต๊ะทำงานและวางให้ชิดกันมากที่สุด จากนั้นใช้แคลมป์แบบ C ยึดชิ้นพลาสติกไว้ให้แน่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นพลาสติกถูกยึดไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อไม่ต้องปรับระหว่างการเชื่อม
STEP 5 เตรียมเครื่องมือ และกำหนดอุณหภูมิ
ทำการ Pre-heat เครื่องมือ โดยการเปิดเครื่องและปรับอุณหภูมิ ทิ้งไว้ก่อนอย่างน้อย 2 นาที
พลาสติกแต่ละประเภทมีจุดหลอมเหลวและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการควบคุมอุณหภูมิเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้การเชื่อมมีประสิทธิภาพและปลอดภัย นี่คือตัวอย่างอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมพลาสติกแต่ละชนิด:
CODE | Types of plastic | Welding temperature* |
PE | Polyethylene | 300°C (hard) 270°C (soft) |
PP | Polypropylene | 300°C |
PVC | Polyvinyl Chloride | 300°C (hard) 350°C (soft) |
ABS | Acrylonitrile Butadiene Styrene | 350°C |
PC | Polycarbonate | 350°C |
*ค่าดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้น ผู้ใช้งานควรทดสอบกับวัสดุนั้นๆเองจนกว่าจะพบอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเชื่อม
หมายเหตุ: แนะนำให้ทำการทดสอบการเชื่อมเล็กๆ ก่อนการเชื่อมทุกครั้ง เป็นการเทสต์อุณหภูมิที่เหมาะสมประจำวัน เพื่อเช็คว่าไม่ได้ตั้งอุณหภูมิสูงเกินไปจนทำให้ชิ้นงานไหม้ หรือต่ำเกินไปทำให้หลอมละลายไม่เต็มที่ วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดในการเชื่อมชิ้นงานจริงที่อาจทำให้ต้องเสียเวลาและทรัพยากรในการซ่อมแซม
STEP 6 เชื่อมยึดชิ้นงาน ด้วย Tacking Nozzle
หัวเชื่อมแบบ Tacking จะมีลักษณะเป็นท่อที่มีครีบที่ปลาย ใช้ครีบนั้นกดลงไปบนพลาสติกเพื่อให้ความร้อนไปยังชิ้นงาน และหลอมพลาสติกให้ติดกัน Tacking คือการเชื่อมชั่วคราวหรือการแต้มเป็นจุดเล็กๆ เพื่อยึดชิ้นงานไม่ให้ขยับ และให้มั่นใจว่าชิ้นงานจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องก่อนทำการเชื่อมหลักด้วยลวดเชื่อม
STEP 7 การเชื่อมพลาสติก
การเชื่อมแบบ Draw welding และ Pendulum welding เป็นสองเทคนิคที่ใช้ในการเชื่อมพลาสติก โดยทั้งสองเทคนิคมีวิธีการแตกต่างกัน ดังนี้
7.1 การเชื่อมแบบ Draw welding
ตัดลวดเชื่อมให้ปลายแหลม และป้อนใส่หัวเชื่อมแบบ Speed welding nozzle ถือเครื่องเชื่อมทำมุมประมาณ 45 องศาโดยให้ปลายหัวฉีดสัมผัสกับพลาสติกแล้วให้ความร้อนจนพลาสติกเริ่มหลอมละลาย ในตอนเริ่มให้ดันใส่ลวดเชื่อมเข้าไปพร้อมๆกัน เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสม่ำเสมอ หากสังเกตเห็นพลาสติกไหม้หรือเปลี่ยนสี แสดงว่าอุณหภูมิสูงเกินไปก็ให้เร่งความเร็วในการเคลื่อนที่ขึ้น
7.2 การเชื่อมแบบ Pendulum welding
การเชื่อมแบบ Pendulum welding มีประโยชน์เมื่อคุณไม่มีหัวเชื่อมแบบ Speed welding nozzle หรือ การเชื่อม PVC เพราะลวด PVC ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะที่จะใช้ร่วมกับหัว speed welding nozzle
วิธีการคือใช้หัวเป่า Tubular nozzle โดยถือหัวเป่าให้ห่างจากรอยแตกประมาณ 1 นิ้ว และตั้งเครื่องเชื่อมที่มุม 45 องศา จากนั้นจัดตำแหน่งลวดเชื่อมที่มุม 45 องศาจากด้านตรงข้าม เมื่อคุณถือปลายลวดเชื่อมไว้แล้ว ให้สวิงหัวฉีดกลับไปมาเหมือนลูกตุ้มแกว่ง ใต้ท้องลวดและผิวหน้าของพลาสติกทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ขณะเคลื่อนที่ปืนเชื่อมไปตามรอยแตกจนเสร็จการเชื่อม
STEP 8 การจบงานให้เสร็จสมบูรณ์
การทำให้การเชื่อมเสร็จสมบูรณ์ไม่เพียงแต่ช่วยให้การเชื่อมดูสวยงาม แต่ยังทำให้มันแข็งแรงและมีความทนทานมากขึ้น นี่คือขั้นตอนที่ควรทำ
8.1 ขัดจุดเชื่อม: รอให้พลาสติกเย็นตัวลงอย่างน้อย 5 นาทีจนพลาสติกกลับสู่สภาพอุณหภูมิห้องหลังจากที่การเชื่อมเย็นตัวแล้ว ใช้กระดาษทรายที่มีเกรดต่างๆ ขัดรอยเชื่อมให้เรียบและสม่ำเสมอ
8.2 ตรวจสอบรอยเชื่อม: หลังจากขัดรอยเชื่อมแล้ว ควรตรวจสอบดูว่าผิวเชื่อมเรียบหรือไม่ และไม่มีจุดที่อาจทำให้การเชื่อมแตกหักได้ ถ้าพบจุดที่ไม่เรียบ คุณสามารถเติมลวดเชื่อมเพิ่มเติมและทำการเชื่อมใหม่ให้เนียนขึ้น
8.4 ตรวจสอบความแข็งแรงและรอยรั่ว: ถ้าพบว่าเชื่อมไม่แข็งแรง หรือมีรอยรั่ว ควรทำการแก้ไขใหม่หรือเชื่อมเพิ่มในจุดที่มีปัญหา
แก้ไขข้อคิดเห็น
ป้อนรหัสผ่านของคุณเพื่อแก้ไขโพสต์
ลบความคิดเห็นลบโพสต์
ป้อนรหัสผ่านเพื่อลบโพสต์